อนุมูลอิสระกับความแก่ที่ไม่เข้าใครออกใคร
![]() ถ้าไม่ชอบกินผักและผลไม้ล่ะ ทำไงดี? |
คน เราแก่ลง ดูเหี่ยวลง เพราะว่าโครงสร้างของเซลถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงไปไม่เสถียร ผลอย่างน้อยๆที่เราเห็นก็คือผิวขาดความยืดหยุ่น และทนทาน เป็นริ้วรอย ซึ่งนั่นคือลักษณะภายนอกที่เราเห็นได้ง่ายๆ ส่วนปัญหาภายในร่างกายที่หนักกว่าผิวนั้นก็คืออนุมูลอิสระทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในร่างกาย เซลกลายพันธ์หรือเปลี่ยนแปลงไปกลายเป็นมะเร็ง, โรคความจำเสื่อม, เบาหวาน ฯลฯ ดังนั้นวันนี้มาทำความรู้จักกันว่ามันคืออะไร

อนุมูล อิสระคือ โมเลกุลของธาตุที่ไม่มั่นคง (ไม่เสถียร) เนื่องจากขาดอิเลคตรอนไป 1 ตัว ซึ่งตามปกติ ในร่างกายเรานั้น แร่ธาตุจะมีอิเลคตรอนเป็นคู่ พอร่างกายได้รับอนุมูลอิสระซึ่งมีสภาพไม่มั่นคงขาดอิเลคตรอน เจ้าอนุมูลอิสระนี่ก็จะมาแย่งอิเลคตรอนจากร่างกายของเราไป เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นไปเรื่อยๆจนกว่าอนุมูลอิสระสองตัวจะมาเจอกันจับคู่กัน การแย่งอิเลคตรอนก็จะหยุด ถ้าไม่หยุด เจ้าอนุมูลอิสระนี่ก็จะเป็นอันธพาลทำลายดีเอ็นเอ ทำลายเยื่อหุ้มเซลต่างๆไปเรื่อยๆ
อนุมูลอิสระเชื่อว่า มีผลต่อการอักเสบ และการทำลายเนื้อเยื่อในระยะสั้น ในระยะยาวอาจมีผลต่อ ความเสื่อมหรือการแก่ของเซลล์ และอาจเป็นสารการก่อมะเร็ง และโรคหัวใจ ต้อกระจก
ตัวอย่างอนุมูลอิสระก็คือ
O2- Superoxide anion อนุมูลซุปเปอร์ออกไซด์
OH- Hydroxyl radicle อนุมูลไฮดรอกซิล
ROO Peroxy radicle อนุมูลเปอร์ออกซี
H2O2 Hydrogen Peroxide ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์

ที่มาจากภายในร่างกายของเรา
-autooxidatiton
-enzymatic oxidation
-respiratory burst
-subcellular organelles
-transition metals ions
-Ischemia reperfusion injury
ที่มาจากสภาวะแวดล้อม
-ยาบางชนิดช่น Doxorubicin , Penicillamine, paracetamol, CCl4, ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (ก็ไอ้ที่เราใช้ล้างแผลนั่นแหละ)
-Radiation รังสีเอ็กซเรย์ รังสียูวี
-ควันบุหรี่ (ดังนั้นจะสูบไม่สูบ ถ้าได้รับควันเข้าไปก็ไม่ได้ดีกว่ากันเท่าไหร่นักหรอกค่ะ)
-ฝุ่นละออง Inorganic particles
-อาหารที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัว ( แก้ได้โดยใส่วิตามิน อี ลงไปด้วย )
- มลพิษในอากาศ โอโซน
นอกจากนี้ก็ยังมีอีกมาก แต่ที่หลักๆก็คือพวกนี้แหละ
จะ ป้องกัน ก็ต้องดูว่าจะทำยังไงให้อนุมูลอิสระมันหยุดขโมยอิเลคตรอนจากร่างกาย ...อืมม ทำไงไม่ให้ออกซิเดชั่น ก็ต้องมี แอนไทออกซิเด้นท์สิคะ สารอะไรละหว่า ที่ทำหน้าที่ antioxidant สารที่คุณๆเคยได้ยินกันก็คงจะมี
• Vitamin A
• Vitamin B-6
• Vitamin B-12
• Vitamin C
• Vitamin E
• Beta carotene
• Folic acid
• Selenium
• Coenzyme Q10
• Flavonoids (ข่าวดีค่ะ มันอยู่ในชอคโกแลตดำ dark chocolate ดังนั้นกินชอคโกแลตกันเถอะ แต่ต้องเป็นแบบที่ขมๆนะคะ ไม่ใช่ขอคโกแลตหวานๆแบบนั้นกินไปคงอ้วนแย่เลย....แต่รำเพยก็กินนะ ฮ่าๆๆ สงสัยที่คนชอบบอกว่ารำเพยหน้าเด็กก็มาจากชอคโกแลตนี่เอง เอิ๊กๆ)
ถ้า ตามหลักทฤษฎีแล้ว antioxidants เหล่านี้น่าจะช่วยป้องกันการออกซิเดชั่นของอนุมูลอิสระได้ โดยการไปจับคู่กับอิเลคตรอนของอนุมูลอิสระเหล่านั้น ซึ่ง "น่าจะ" ช่วยในการชะลอความแก่ได้ ถ้าเรามองแค่นี้เราก็คงคิดว่า เอาละ งั้นไปหาอาหารเสริมพวกนี้มากินต่างข้าวเลยแล้วกันจะได้แก่ช้าๆ
อาหารเสริมมันช่วยอะไรท่านไม่ได้มากนักหรอก อ่านต่อก่อนนน |
มี การทดลองที่ the Southern California Evidence-based Practice Center (EPC) ทดลองให้คนป่วยเป็นมะเร็งกิน วิตามิน C วิตามิน E และ โคเอ็นไซม์ คิวเทน ประกอบในการรักษาด้วย แต่ว่าผลที่ได้คือสารสกัดมาเป็นอาหารเสริมเหล่านี้ ไม่มีหลักฐานพิสูจน์ได้ว่าสามารถป้องกัน หรือเสริมในการรักษามะเร็งแต่ประการใด
นอก จากนี้ เมโย คลินิกก็ยังมีรายงานออกมาว่ายังไม่มีข้อพิสูจน์ใดๆว่าการที่กินอาหารเสริมจะ ช่วยชะลอหรือป้องกันการเกิดมะเร็งได้ ในทางตรงกันข้าม ถ้าคุณไปหาอาหารเสริมมากินสุ่มสี่สุ่มห้า มันอาจจะเป็นผลร้ายด้วยซ้ำ เช่นคุณอาจจะได้รับเหล็กมากเกินไป หรือว่าอย่างคนที่สูบบุหรี่ แล้วกินเบต้าเคโรทีนเข้าไปก็จะไปเร่งโอกาศที่ทำให้เกิดมะเร็งปอดได้มากขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็ยังไม่เคยเจอว่าแครอท หรือผักผลไม้อย่างอื่น มีผลต่อการเร่งให้เกิดมะเร็งค่ะ
วิธีที่ดีที่สุดก็คือกินผักผลไม้ให้ มากๆหน่อย จะดีกว่ากินอาหารเสริมนะคะ ยังไม่มีคนตายเพราะกินผักผลไม้นะ แต่คนที่เป็นอันตรายเพราะกินอาหารเสริมมากเกินไปน่ะมีค่ะ Antioxidant มีผลต่อการต่อต้านอนุมูลอิสระก็จริง แต่ว่าผลที่เห็นได้เด่นชัดจะพบในผักและผลไม้ค่ะ ไม่ใช่พบในอาหารเสริมเป็นเม็ดๆ
• Free Radicals
• อนุมูลอิสระ
• The Heart-Health Benefits of Chocolate Unveiled
• Over-the-counter wrinkle creams: Miracle or marketing myth?
• Anti-aging therapies: Too good to be true?
• Effect of the Supplemental Use of Antioxidants Vitamin C, Vitamin E, and Coenzyme Q10 for the Prevention and Treatment of Cancer
• The Free-radical theory
• Free Radicals, Types, Sources and Damaging Reactions
• Reactive Oxygen Species (ROS)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น